วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561

จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ที่โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ฐานนำ้นิ่งไหลลึก


ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=iUGR9FleAVA&t=8s
นำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์ 
(บิงโก ปริศนาอะไรเอ่ย)




                ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=rxBZpsK-dk8



วิจัย "ผลของการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์โดยใช้ศิลปะแบบบูรณาการที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล"
ที่มา : จุติพร   ทองชูคำ
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาครุศาสตร์บัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2557


สรุปวิจัย

วัตถุประสงค์
   1.เพื่อศึกษาผลของการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์โดยใช้ศิลปะแบบบูรณาการทีมีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล 4 ด้าน ได้แก่ ทักษะทางสังคม ทักษะการจำแนก ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย
  2.เพื่อเปรียบเทียบผลของการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล

กลุ่มตัวอย่าง
  - เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตการศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 

ผลการวิจัย
  - หลักการทดลองเด็กอนุบาลที่ได้รับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์โดยใช้ศิลปะแบบบูรณาการมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนการทดลอง

👉 ครูสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วยดอกไม้แสนสวย
   - ครูนำรูปภาพวาดดอกไม้ของศิลปะที่ใช้เทคนิคการวาดให้มองเห็นแบบมิติหน้า-หลัง และใช้สีขาวกับสีฟ้าที่ให้ความรู้สึกเย็นสบาย คำถาม : ดอกไม้ในภาพกับดอกไม้ที่เด็กๆเคยเห็นต่างกันหรือไม่ อย่างไร/ศิลปินใช้สีแบบไหนในการวาดภาพ
   - และสอนในเรื่องการเจริญเติบโตของดอกไม้ ชนิดและส่วนประกอบของดอกไม้ ประโยชน์ของดอกไม้
   - ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เด็กได้รับ ทักษะการวัด ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการสื่อความหมาย 
สรุปตัวอย่างการสอน
เรื่อง การละลายของนำ้ตาล (บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย)

การทดลองการละลายของนำ้ตาล

ขั้นนำ 
  คุณครูถามเด็กๆว่า ใครช่วยคุณแม่ทำกับข้าวบ้าง และในครัวมีเครื่องปรุงอะไรบ้าง คุณครูแนะนำอุปกรณ์ต่างๆ
การทดลอง 
  - คุณครูให้เด็กๆย้อมก้อนนำ้ตาล โดยหยดสีผสมอาหารลงไป
  - สมมุติฐาน จากนั้นคุณครูถามเด็กๆว่า ถ้าเรานำก้อนนำ้ตาลวางลงไปในนำ้จะเกิดอะไรขึ้น?
  - ผลการทดลองนำ้ตาลละลาย
  - สมมุติฐาน จากนั้นคุณครูถามเด็กๆว่า ถ้าเรานำนำ้ตาลวางลงไปในนำ้มันจะเกิดอะไรขึ้น?
  - ผลการทดลอง นำ้ตาลไม่ละลายในนำ้มัน
สรุปผลการทดลอง
   นำ้ตาลละลายในนำ้เพราะ ในก้อนนำ้ตาลมีอากาศเมื่อนำ้เข้าไปแทนที่อากาศนำ้ตาลจึงละลายในที่สุด ที่นำ้ตาลไม่ละลายในนำ้มันเพราะ นำ้มันพืชไม่มีคุณสมบัติในการทำละลาย
   
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=0XvQgG3aosg
สรุปบทความ เรื่องสอนลูกเรื่องภาวะโลกร้อน


ที่มา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา   เรืองรอง
คณะครุศาสตร์ มหาวิยาลัยราชภันครศรีธรรมราช

สรุปบทความ
   โดยจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับภาวะโลกร้อน เนื่องจากก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น เพราะมนุษย์ทำกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับการเผาผลาญเชื้อเพลิงและการใช้สารเคมี ทำให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลกระทบทำให้สภาพอากาศในโลกเปลี่ยนแปลงผิดไปจากเดิม เช่น เกิดภัยธรรมชาติ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการลดสภาวะโลกร้อน ทำให้เด็กได้เรียนถึงสาเหตุ วิธีลดภาวะโลกร้อนด้วยการนำของใช้องเล่นมาเล่นซำ้หรือดัดแปลงใหม่เป็นสิ่งใหม่ วิธีนี้ช่วยปลูกฝังนิสัยที่ดีได้รู้จัก การประหยัด อดทน และช่วยลดขยะ

ครูสอนเรื่องภาวะโลกร้อนให้เด็กที่โรงเรียน
   - กิจกรรมสร้างสรรค์ ประดิษฐ์หุ่นเล่านิทานหรือของเล่น จากกล่องนม กระดาษหนังสือพิมพ์
   - กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เด็กเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์ ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ตัดเป็นริ้วให้เด็กถือโบกสะบัดตามจังหวะ ครูทำเครื่องเตาะจังหวะจากกล่องนม
   - กิจกรรมเสรี จัดมุมการเรียนรู้งานช่างให้เด็กๆคิดประดิษฐ์สิ่งของ จากวัสดุเหลือใช้

ผู้ปกครองสอนลูกเรื่องภาวะโลกร้อน
   - ใช้ของซำ้ๆให้ลูฏเห็นและให้ลูกปฏิบัติตาม
   - สอนลูกแยกขยะก่อนทิ้ง
   - เล่นเกมคิดสร้างสรรค์กับลูกเพื่อส่งเสริมการคิด เรื่องการใช้สิ่งของให้คุ้มค่า เช่น ผ้าเช็ดหน้าหนึ่งผืน จะทำเป็นอะไรได้บ้าง ให้เด็กเสนอ เช่น โบว์ผูกผม ดอกไม้

ที่มา : http://taamkru.com/th
Diary No.15 Friday, 23 November 2018 Time 08.30 - 12.30 AM.

Knowledge Summary (ความรู้ที่ได้รับ)
    วันนี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอน อาจารย์ได้บอกแนวข้อสอบ และให้แก้แผนการสอน นัดวันส่งงานต่างๆ อาจารย์ได้แนะนำโปรแกรมการทำวิดีโอ Biteable และให้ไปทำวิดีโอที่ได้ไปจัดกิจกรรมฐานวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิต

Teaching Methoodes (วิธีการสอน)
  - อาจารย์ได้แนะนำโปรแกรมในการทำวิดีโอในการนำเสนอให้มีความน่าสนใจมากขึ้น

Apply (การนำไปใช้)
  - สามารถนำไปใช้ในนำเสนองานต่างๆได้

Assessment (การประเมิน)
   - Self : เข้าเรียนตรงเวลา
   - Friend : ให้ความร่วมมือดี
   - Teacher : สนุกสนาน ไม่เครียด 



Diary No.14 Friday, 16 November 2018 Time 08.30 - 12.30 AM.

Knowledge Summary (ความรู้ที่ได้รับ)
   วันนี้อาจารย์ให้เลือก mind map 1 เรื่อง ที่ทำครั้งที่แล้วนำมาเขียนแผนการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และทำ mind map ในโปรแกรม โดยจับกลุ่ม 3 คน


- ชนิดพันธ์ เสือโคร่งเบงกลอ เสือโคร่งไซบีเรีย เสือโคร่งอินโดจีน เสือโคร่งมลายู เสือโคร่งสุมาตรา เสือโคร่งจีนใต้
- ลักษณะ ขนาด→ใหญ่ เล็ก  ผื้นผิว→เรียบ สี→สีเหลืองมีลายสลับสีดำทั้งตัว สีขาวมีลายสลับดำทั้งตัว
- การดำรงชีวิต อาหาร→กินสัตว์ใหญ่ กวาง หมูป่า กินสัตว์เล็ก นก ปลา อากาศ→ชอบอากาศร้อน นำ้→กินนำ้ที่อุณหภูมิคงที่ ที่อยู่→ป่าทึบ ป่าดิบชื้น ป่าหญ้าที่แห้งโล่ง การสืบพันธ์ุ→ผสมพันธ์ุเมื่อมีอายุ 3 ปีขึ้นไป ตัวเมียอุ้มท้อง 3 เดือน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
- ประโยขน์และข้อควรระวัง ประโยชน์→รักษาสมดุลของป่า ทำให้เกิดความสวยงาม ความเชื่อที่นำมาทำเป็นเครื่องรางของขัง ข้อควรระวัง→ไม่ควรเข้าใกล้ ไม่วิ่งเมื่อเจอ ยืนอยู่นิ่งๆ
- การอนุรักษ์ ไม่ตัดไม้ทำลายที่อยู่อาศัย ไม่บุกรุกพื้นที่ วันอนุรักษ์เสือโคร่ง 29 กรกฎาของทุกปี


Teaching Methoodes (วิธีการสอน)
    - อาจารย์ให้เขียนแผนเสริมประสบการณ์ต่อจากการทำ mind map ช่วยให้ลำดับการเขียนเนื้อหาในการสอนได้ถูกต้องเข้าใจมากขึ้น

Apply (การนำไปใช้)
    - สามารถนำวิธีการนี้ไปเขียนแผรการสอนได้

Assessment (การประเมิน)
   - Self : เข้าเรียนตรงเวลา
   - Friend : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
   - Teacher : แนะนำให้คำปรึกษาได้ดี