List of Study Groups 121

Support Agency

Research

The Article

Teaching Example

Learning Documentation

Science Media

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561

จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ที่โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ฐานนำ้นิ่งไหลลึก


ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=iUGR9FleAVA&t=8s
นำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์ 
(บิงโก ปริศนาอะไรเอ่ย)




                ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=rxBZpsK-dk8



วิจัย "ผลของการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์โดยใช้ศิลปะแบบบูรณาการที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล"
ที่มา : จุติพร   ทองชูคำ
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาครุศาสตร์บัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2557


สรุปวิจัย

วัตถุประสงค์
   1.เพื่อศึกษาผลของการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์โดยใช้ศิลปะแบบบูรณาการทีมีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล 4 ด้าน ได้แก่ ทักษะทางสังคม ทักษะการจำแนก ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย
  2.เพื่อเปรียบเทียบผลของการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล

กลุ่มตัวอย่าง
  - เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตการศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 

ผลการวิจัย
  - หลักการทดลองเด็กอนุบาลที่ได้รับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์โดยใช้ศิลปะแบบบูรณาการมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนการทดลอง

👉 ครูสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วยดอกไม้แสนสวย
   - ครูนำรูปภาพวาดดอกไม้ของศิลปะที่ใช้เทคนิคการวาดให้มองเห็นแบบมิติหน้า-หลัง และใช้สีขาวกับสีฟ้าที่ให้ความรู้สึกเย็นสบาย คำถาม : ดอกไม้ในภาพกับดอกไม้ที่เด็กๆเคยเห็นต่างกันหรือไม่ อย่างไร/ศิลปินใช้สีแบบไหนในการวาดภาพ
   - และสอนในเรื่องการเจริญเติบโตของดอกไม้ ชนิดและส่วนประกอบของดอกไม้ ประโยชน์ของดอกไม้
   - ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เด็กได้รับ ทักษะการวัด ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการสื่อความหมาย 
สรุปตัวอย่างการสอน
เรื่อง การละลายของนำ้ตาล (บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย)

การทดลองการละลายของนำ้ตาล

ขั้นนำ 
  คุณครูถามเด็กๆว่า ใครช่วยคุณแม่ทำกับข้าวบ้าง และในครัวมีเครื่องปรุงอะไรบ้าง คุณครูแนะนำอุปกรณ์ต่างๆ
การทดลอง 
  - คุณครูให้เด็กๆย้อมก้อนนำ้ตาล โดยหยดสีผสมอาหารลงไป
  - สมมุติฐาน จากนั้นคุณครูถามเด็กๆว่า ถ้าเรานำก้อนนำ้ตาลวางลงไปในนำ้จะเกิดอะไรขึ้น?
  - ผลการทดลองนำ้ตาลละลาย
  - สมมุติฐาน จากนั้นคุณครูถามเด็กๆว่า ถ้าเรานำนำ้ตาลวางลงไปในนำ้มันจะเกิดอะไรขึ้น?
  - ผลการทดลอง นำ้ตาลไม่ละลายในนำ้มัน
สรุปผลการทดลอง
   นำ้ตาลละลายในนำ้เพราะ ในก้อนนำ้ตาลมีอากาศเมื่อนำ้เข้าไปแทนที่อากาศนำ้ตาลจึงละลายในที่สุด ที่นำ้ตาลไม่ละลายในนำ้มันเพราะ นำ้มันพืชไม่มีคุณสมบัติในการทำละลาย
   
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=0XvQgG3aosg
สรุปบทความ เรื่องสอนลูกเรื่องภาวะโลกร้อน


ที่มา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา   เรืองรอง
คณะครุศาสตร์ มหาวิยาลัยราชภันครศรีธรรมราช

สรุปบทความ
   โดยจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับภาวะโลกร้อน เนื่องจากก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น เพราะมนุษย์ทำกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับการเผาผลาญเชื้อเพลิงและการใช้สารเคมี ทำให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลกระทบทำให้สภาพอากาศในโลกเปลี่ยนแปลงผิดไปจากเดิม เช่น เกิดภัยธรรมชาติ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการลดสภาวะโลกร้อน ทำให้เด็กได้เรียนถึงสาเหตุ วิธีลดภาวะโลกร้อนด้วยการนำของใช้องเล่นมาเล่นซำ้หรือดัดแปลงใหม่เป็นสิ่งใหม่ วิธีนี้ช่วยปลูกฝังนิสัยที่ดีได้รู้จัก การประหยัด อดทน และช่วยลดขยะ

ครูสอนเรื่องภาวะโลกร้อนให้เด็กที่โรงเรียน
   - กิจกรรมสร้างสรรค์ ประดิษฐ์หุ่นเล่านิทานหรือของเล่น จากกล่องนม กระดาษหนังสือพิมพ์
   - กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เด็กเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์ ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ตัดเป็นริ้วให้เด็กถือโบกสะบัดตามจังหวะ ครูทำเครื่องเตาะจังหวะจากกล่องนม
   - กิจกรรมเสรี จัดมุมการเรียนรู้งานช่างให้เด็กๆคิดประดิษฐ์สิ่งของ จากวัสดุเหลือใช้

ผู้ปกครองสอนลูกเรื่องภาวะโลกร้อน
   - ใช้ของซำ้ๆให้ลูฏเห็นและให้ลูกปฏิบัติตาม
   - สอนลูกแยกขยะก่อนทิ้ง
   - เล่นเกมคิดสร้างสรรค์กับลูกเพื่อส่งเสริมการคิด เรื่องการใช้สิ่งของให้คุ้มค่า เช่น ผ้าเช็ดหน้าหนึ่งผืน จะทำเป็นอะไรได้บ้าง ให้เด็กเสนอ เช่น โบว์ผูกผม ดอกไม้

ที่มา : http://taamkru.com/th
Diary No.15 Friday, 23 November 2018 Time 08.30 - 12.30 AM.

Knowledge Summary (ความรู้ที่ได้รับ)
    วันนี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอน อาจารย์ได้บอกแนวข้อสอบ และให้แก้แผนการสอน นัดวันส่งงานต่างๆ อาจารย์ได้แนะนำโปรแกรมการทำวิดีโอ Biteable และให้ไปทำวิดีโอที่ได้ไปจัดกิจกรรมฐานวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิต

Teaching Methoodes (วิธีการสอน)
  - อาจารย์ได้แนะนำโปรแกรมในการทำวิดีโอในการนำเสนอให้มีความน่าสนใจมากขึ้น

Apply (การนำไปใช้)
  - สามารถนำไปใช้ในนำเสนองานต่างๆได้

Assessment (การประเมิน)
   - Self : เข้าเรียนตรงเวลา
   - Friend : ให้ความร่วมมือดี
   - Teacher : สนุกสนาน ไม่เครียด 



Diary No.14 Friday, 16 November 2018 Time 08.30 - 12.30 AM.

Knowledge Summary (ความรู้ที่ได้รับ)
   วันนี้อาจารย์ให้เลือก mind map 1 เรื่อง ที่ทำครั้งที่แล้วนำมาเขียนแผนการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และทำ mind map ในโปรแกรม โดยจับกลุ่ม 3 คน


- ชนิดพันธ์ เสือโคร่งเบงกลอ เสือโคร่งไซบีเรีย เสือโคร่งอินโดจีน เสือโคร่งมลายู เสือโคร่งสุมาตรา เสือโคร่งจีนใต้
- ลักษณะ ขนาด→ใหญ่ เล็ก  ผื้นผิว→เรียบ สี→สีเหลืองมีลายสลับสีดำทั้งตัว สีขาวมีลายสลับดำทั้งตัว
- การดำรงชีวิต อาหาร→กินสัตว์ใหญ่ กวาง หมูป่า กินสัตว์เล็ก นก ปลา อากาศ→ชอบอากาศร้อน นำ้→กินนำ้ที่อุณหภูมิคงที่ ที่อยู่→ป่าทึบ ป่าดิบชื้น ป่าหญ้าที่แห้งโล่ง การสืบพันธ์ุ→ผสมพันธ์ุเมื่อมีอายุ 3 ปีขึ้นไป ตัวเมียอุ้มท้อง 3 เดือน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
- ประโยขน์และข้อควรระวัง ประโยชน์→รักษาสมดุลของป่า ทำให้เกิดความสวยงาม ความเชื่อที่นำมาทำเป็นเครื่องรางของขัง ข้อควรระวัง→ไม่ควรเข้าใกล้ ไม่วิ่งเมื่อเจอ ยืนอยู่นิ่งๆ
- การอนุรักษ์ ไม่ตัดไม้ทำลายที่อยู่อาศัย ไม่บุกรุกพื้นที่ วันอนุรักษ์เสือโคร่ง 29 กรกฎาของทุกปี


Teaching Methoodes (วิธีการสอน)
    - อาจารย์ให้เขียนแผนเสริมประสบการณ์ต่อจากการทำ mind map ช่วยให้ลำดับการเขียนเนื้อหาในการสอนได้ถูกต้องเข้าใจมากขึ้น

Apply (การนำไปใช้)
    - สามารถนำวิธีการนี้ไปเขียนแผรการสอนได้

Assessment (การประเมิน)
   - Self : เข้าเรียนตรงเวลา
   - Friend : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
   - Teacher : แนะนำให้คำปรึกษาได้ดี
Diary No.13 Friday, 9 November 2018 Time 08.30 - 12.30 AM.

Knowledge Summary (ความรู้ที่ได้รับ)
   วันนี้อาจารย์ให้ดูวิดีโอเรื่องความลับของแสง

ความลับของแสง💥
- แสง คือพลังงานรูปหนึ่ง เดินทางด้วยอัตราเร็ว 300000 กิโลเมตรต่อวินาที
- เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้อย่างไร เนื่องจากแสงส่องโดนวัตถุ และสะท้อนเข้ามาที่ตาเราจึงมองเห็นวัตถุ
- คุณสมบัติของแสง แสงพุ่งออกเป็นเส้นตรงไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง
- วัตถุที่แสงผ่านได้ วัตถุโปร่งใสเห็นหมด แสงเดินผ่านได้หมดเลย โปร่งแสงเห็นรางๆ แสงเดินผ่านได้บางส่วน วัตถุทึบแสง เช่น ไม้ หิน คน
- กล้องรูเข็ม ฉายให้แสงผ่านวัตถุผ่านรูเข็มขนาดเล็กให้ตกลงบนแผ่นฟิมล์ ภาพที่แสดงบนแผ่นฟิมล์จะเป็นภาพกลับหัว เนื่องจากแสงเดินผ่านมาเจอรูเข็มขนาดเล็กจะเกิดการหักเห
- การสะท้อนของแสง เมื่อเราหักมุมให้กระจกแคบลงเราจะเห็นภาพมากขึ้น ถ้าเราหักมุมกระจกไม่แคบเราก็จะเห็นภาพน้อย เนื่องจากเงาในกระจกเกิดจากการสะท้อนของแสง
- กล้องคาไลโดสโคบ นำวัตถุใส่ในกล้องคาไลโดสโคบเมื่อเราส่องจะเกิดภาพสีสันสวยงามหลายภาพ เนื่องจากแสงผ่านวัตถุที่ใส่ไว้ และสะท้อนกระจกเงาด้านใน
- การเกิดเงา เมื่อแสงตกกระทบวัตถุทึบแสง แสงไม่สามารถผ่านทะลุวัตถุ จึงทำให้เงาของวัตถุบนฉากทางด้านที่แสงไม่ได้ตกกระทบ เช่น คนเป็นวัตถุทีบแสง ดังนั้นเมื่อยืนอยู่กลางแดดจะเกิดเงาบนพื้น
- รุ้งกินนำ้ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นหลังฝนตก โดยเกิดขึ้นจากแสงแดดส่องผ่านละอองนำ้ในอากาศ ทำให้เกิดสีต่างๆ เกิดการหักเห จึงเห็นเป็นแถบสีต่างๆ ประกอบไปด้วย สีม่วง สีคราม สีนำ้เงิน สีเขียว สีเหลือง สีแสด และสีแดง

👉 ต่อมาอาจารย์ให้ทำ mind map 1 เรื่องที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ โดยเขียนเนื้อหาที่จะสอนเด็ก
ดิฉันเขียนเรื่องเสือโคร่ง แยกออกมาได้ดังนี้
   - ชนิดพันธ์ุ
   - ลักษณะของเสือโคร่ง ขนาด,พื้นผิว
   - การดำรงชีวิต อาหาร,นำ้,อากาศ,ที่อยู่อาศัย
   - ประโยขน์
   - การอนุรักษ์
หลังจากทำเสร็จอาจารย์ก็ให้นำกลับไปแก้ไขเนื้อหาเพิ่มเติมในบางส่วน

Teaching Methoodes (วิธีการสอน)
   - อาจารย์ให้ทำ mind map ช่วยให้เราแตกเนื้อหาที่ได้ถูกไม่หลงเป็นไปตามลำดับ และยังช่วยแนะนำในสิ่งที่ยังต้องเพิ่มเติม นำวิดีโอมาให้ดูช่วยให้จำได้ง่ายขึ้นและมีข้อความรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับเรื่องแสง

Apply (การนำไปใช้)
   - สามารถนำการทำ mind map ไปใช้ในการทำงานอย่างอื่นได้ แลละนำไปทำกิจกรรมในเนื้อหาการสอนได้ และนำข้อความรู้เกี่ยวกับแสงไปสอนเด็กได้

Assessment (การประเมิน)
   - Self : เข้าเรียนไม่สาย ตั้งใจฟังอาจารย์
   - Friend : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
   - Teacher : เป็นกันเอง ไม่เครียด

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2561

จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 

ฐานนำ้นิ่งไหลลึก


ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=iUGR9FleAVA

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

Diary No.12 Friday, 2 November 2018 Time 08.30 - 12.30 AM.

Knowledge Summary (ความรู้ที่ได้รับ)
   วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอคลิปการทดลองกลุ่ม ที่จะนำไปใช้ในการจัดฐานกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม


ข้อที่ควรปรับปรุงแก้ไข
   - ควรมีไม้ชี้ในแต่ละขั้นตอนที่ทดลอง
   - เมื่อเริ่มการทดลองให้นำของที่ไม่เกี่ยวข้องออก
   - ในช่วงการทดลองนำ้เปลี่ยนรูปร่างตามภาชานะ ไม่ต้องพูดถึงเรื่องของปริมาณนำ้ที่แตกต่างกัน


Apply (นำไปประยุกต์ใช้)
   - สามารถนำไปใช้ในการสอนการทดลองวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้ และได้รู้ถึงขั้นตอนต่างๆที่เราสามารถนำไปปรับใช้ได้ การพูดกับเด็ก การตั้งประเด็นปัญหาที่ให้เด็กได้คิดสังเกตต่างๆ

Assessment (การประเมิน)
   - Self : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังและจดบันทึก
   - Friend : ให้ความร่วมมือดี
   - Teacher : อธิบายแต่ละขั้นอย่างละเอียดเข้าใจ
Diary No.11 Friday, 26 October 2018 Time 08.30 - 12.30 AM.

Knowledge Summary (ความรู้ที่ได้รับ)
   วันนี้อาจารย์ให้เปิดคลิปการทดลองของเพื่อนๆแต่ละคน

1.นางสาวปรางทอง   สุริวงค์  
   ประเด็นปัญหา: อะไรบ้างที่ทำให้ไฟฟ้าติดบ้าง
   สมมุติฐาน: ถ้าเอาลวดมาต่อจะเกิดอะไรขึ้น และถ้าเอากระดาษลูกฟูกมาต่อวงจรจะเกิดอะไรขึ้น
   สรุป: ไฟติดเพราะต่อครบวงจร และลวดเป็นโลหะเป็นตัวนำไฟฟ้าไฟจึงติด เมื่อนำกระดาษลูกฟูกมาต่อ   วงจรปรากฏว่าไม่ติดทั้งๆที่ต่อครบวงจร เป็นเพราะว่ากระดาษลูกฟูกเป็นอะโลหะไม่นำไฟฟ้าไฟจึงไม่ติด

2.นางสาวบงกชกมล   ยังโยมร (เมล็ดพืชเต้นระบำ)
   ประเด็นปัญหา: นำ้อะไรที่มำให้ถั่วเขียวลอยขึ้นได้บ้าง
   สมมุติฐาน: ถ้านำถั่วเขียวใส่ในนำ้เปล่าจะเกิดอะไรขึ้น และถ้านำถั่วเขียวใส่ในนำ้โซดาจะเกิดอะไรขึ้น
   สรุป: นำถั่วเขียวใส่ในนำ้เปล่าถั่วเขียวไม่ลอย แต่ถ้านำถั่วเขียวใส่ในนำ้โซดาถั่วเขียวลอยและเกิดฟองซ่า เพราะในนำ้โซดามีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

3.นางสาวมารีร่า   ดาโร๊ส
   ประเด็นปัญหา: เราจะดับไฟได้อย่างไรบ้าง
   สมมุติฐาน: ถ้านำแก้วมาครอบเทียนจะเกิดอะไรขึ้น
   สรุป: เมื่อนำแก้วมาครอบเทียนไฟดับ เพราะแก้วครอบอากาศข้างใน ออกซิเจนค่อยๆหมดไปไฟก็จะดับแล้วเป็นคาร์บอนไดออกไซด์

4.นางสาวณัฐชา   บุญทอง
   ประเด็นปัญหา: กระแสไฟฟ้าไหลผ่านอะไรได้บ้าง
   สมมุติฐาน: ถ้าคุณครูต่อของแต่ละชนิดจะเกิดอะไรขึ้น (ช้อน,ยางลบ)
   สรุป: เมื่อนำช้อนไปต่อวงจรไฟฟ้าติด ช้อนเป็นโลหะกระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านได้เมื่อต่อครบวงจรไฟจะติดถ้าต่อไม่ครบวงจรไฟก็จะไม่ติด ยางลบเป็นอะโลหะ กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลผ่านได้ไฟจึงไม่ติด

5.นางสาวชาณิศา   หุ้ยทั่น
   ประเด็นปัญหา: อะไรที่ทำให้นำ้ไม่หกออกมา
   สมมุติฐาน: ถ้าเราเอากระดาษปิดแล้วควำ่แก้วจะเกิดอะไรขึ้น
   สรุป: นำ้ไม่หก เพราะนำ้ดันอากาศไว้ทำให้นำ้ไม่หกออกมา

Teaching Methodes (วิธีการสอน)
   - อาจารย์แนะนำวิธีการสอนในแต่ละขึ้นที่ถูกต้อง เพื่อให้เด็กได้เกิดการสังเกตและการคิด ในวิทยาศาสตร์ที่ถูก

Apply (นำไปประยุกต์ใช้)
   - สามารถนำการทดลองในแต่เรื่องมาเป็นข้อความรู้ ในการจัดการทดลองวิทยาศาสตร์ในเรื่องอื่นๆ

Assessment (การประเมิน)
   - Self : เข้าเรียนไม่สาย ตั้งใจฟังอาจารย์
   - Friend : ตั้งใจฟังอาจารย์ ให้ความร่วมมือดี
   - Teacher : แนะนำการสอนที่ถูกต้องในแต่ละขั้น อธิบายได้เข้าใจ

วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Diary No.10 Friday, 19 October 2018 Time 08.30 - 12.30 AM.

Knowledge Summary (ความรู้ที่ได้รับ)
   วันนี้อาจารย์ให้จับกลุ่ม และเลือกการทดลองที่น่าสนใจภายในกลุ่มมา 1 การทดลอง และให้ทำโครงการ นำฐานกิจกรรมของแต่ละกลุ่มมารวมกัน ฐานกิจกรรมวิทยาศาสตร์นี้จะนำไปจัดให้กับเด็กๆ

กลุ่มของดิฉันทำเกี่ยวกับเรื่องนำ้

"ชื่อฐานนำ้นิ่งไหลลึก"

วัตถุประสงค์💥
   1.อธิบายคุณสมบัติของนำ้ได้
   2.เด็กบอกได้ว่านำ้เป็นส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิต
   3.เด็กได้ลงมือทดลองร่วมกับครู
   4.เด็กได้รับความสนุกสนานจากการทดลอง
   5.เด็กมีการสังเกตและคิดในสิ่งที่พบเห็น
   6.เด็กได้ความรู้และสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
   7.เด็กได้คิดวิเคราะห์ในการทำการทดลอง
ข้อความรู้💥
   นำ้เป็นของเหลวชนิดหนึ่งที่มีอยู่มากที่สุดบนผิวโลกเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตทุกชนิดทุกชนิดที่มนุษย์รู้จัก เราสามารถพบนำ้ได้หลายสถานที่ เช่น ทะเล แม่นำ้ หนอง คลอง บึง
ประเด็นที่อยากรู้
   นำ้มีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง?
สมมุติฐาน💥
   - ถ้าเทใส่นำ้ในแก้วจะเกิดอะไรขึ้น
   - ถ้าใส่นำ้ในภาชนะต่างกันจะเกิดอะไรขึ้น
   - ถ้าวางวัตถุบนผิวนำ้จะเกิดอะไรขึ้น
   - ถ้านำผักผลไม้มาบีบจะเกิดอะไรขึ้น
สื่อ อุปกรณ์💥
   1.นำ้
   2.แก้วรูปทรงต่างๆ
   3.สีผสมอาหาร
   4.คลิปหนีบกระดาษ
   5.นำ้ยาล้างจาน
   6.ผลไม้และผัก
ขั้นตอน💥
   1.เทนำ้จากแก้วใบแรกใส่แก้วใบที่สองสลับไปมา
   2.เทนำ้ใส่ภาชนะที่มีรูปร่างต่างกัน นำ้จะเปลี่ยนรูปร่างตามภาชนะ
   3.เทนำ้ให้เต็มแก้วแล้วนำคลิปหนีบกระดาษมาวางบนผิวนำ้
   4.หยดนำ้ยาล้างจานบนผิวนำ้ แล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลง
   5.หลังจากนั้นนำผักผลไม้มาบีบ สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง
สรุปผลการทดลอง💥
   - เทนำ้สลับไปมา ที่นำ้ไหลเป็นเพราะว่านำ้มีคุณสมบัติเป็นของเหลว
   - นำ้เปลี่ยนรูปร่างเพราะภาชนะ
   - วางวัตถุลงบนผิวนำ้แล้วไม่จบเพราะมีแรงตึงผิว 
   - เมื่อบีบผักผลไม้มีนำ้ออกมาเพราะนำ้เป็นส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิต

Teaching Methodes (วิธีการสอน)
   - ให้เราได้คิดการจัดฐานกิจกรรมทำให้ได้รู้ถึงการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก และผิดถูกอาจารย์จะคอยช่วยเสริมให้สมบูรณ์

Apply (นำไปประยุกต์ใช้)
   - สามารถนำองค์ความรู้ที่เราได้จากจัดฐานกิจกรรมนี้ไปสอนเด็กได้

Assessment (การประเมิน)
   - Self : เข้าเรียนไม่สาย ตั้งใจฟังอาจารย์ ให้ความร่วมมือกับเพื่อน
   - Friend : ให้ความร่วมมือดี
   - Teacher : แนะนำแนวทางให้เข้าใจถูกต้อง สอนสนุก ใส่ใจนักศึกษา

วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Diary No.9 Friday, 12 October 2018 Time 08.30 - 12.30 AM.

Knowledge Summary (ความรู้ที่ได้รับ)
   วันนี้เพื่อนๆนำเสนอการทดลองบ้านนักวิทยาศาสตร์

👉 นางสาวอรอุมา   ศรีท้วม ทดลองเรื่องปริมาณนำ้ในแก้วเท่ากันหรือไม่
นำนำ้ใส่แก้วในแต่ละแก้วที่มีรูปร่างต่างกัน แต่ใส่นำ้ในปริมาณที่เท่ากัน ให้เด็กสังเกต ถ้าเด็ก
ตอบว่านำ้มีปริมาณที่เท่ากันแสดงว่าเด็กผ่านขั้นอนุรักษ์แล้ว ถ้าเด็กตอบว่านำ้มีปริมาณที่ต่างกัน
แสดงว่าเด็กยังไม่ผ่านขั้นอนุรักษ์เด็กจะตอบตามในสิ่งที่ตาเห็น

👉 นางสาวณัฐธิดา   ธรรมแท้ ทดลองเรื่องนำ้มะนาวโซดาแสนอร่อย
นำกรดมะนาวมาละลายในนำ้ และนำเบกกิ้งโซดามาละลายในนำ้ นำนำ้มะนาวและเบกกิ้งโซดา
ที่ละลายมาผสมกันจะเกิดฟองฟู่ คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และใส่นำ้แดงลงไปทำให้ได้นำ้มะนาวโซดา

👉 นางสาวปวีณา   พันธ์กุล ทดลองเรื่องการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
โดยใส่นำ้มะนาว3ช้อน ลงไปในเกลือไม่เกิดอะไรขึ้น ใส่นำ้มะนาวลงไปในผงฟูเกิดฟองขึ้น
ใส่นำ้มะนาวลงไปในเบกกิ้งโซดา เกิดฟองขึ้น ใส่นำ้มะนาวลงไปในนำ้ตาลไม่เกิดอะไรขึ้น
การเกิดฟองขึ้นทำใหเเกิดคาร์บอนไดออกไซด์ และที่เกลือกับนำ้ตาลไม่เกิดอะไรเพราะนำ้มะนาว
แทรกตัวอยู่ในนำ้ตาลและเกลือ 

Teaching Methodes (วิธีการสอน)
   - อาจารย์สอนได้เข้าใจ แนะนำวิธีการสอนและการจัดประสบการณ์ที่สามารถนำไปใช้สอนเด็กได้จริง

Apply (นำไปประยุกต์ใช้)
   - สามารถนำวิธีการสอนไปปรับใช้ในการสอนได้

Assessment (การประเมิน)
   - Self : เข้าเรียนไม่สาย
   - Friend : ให้ความร่วมมือ
   - Teacher : สอนได้เข้าใจสนุก




วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Diary No.8 Friday, 5 October 2018 Time 08.30 - 12.30 AM.

knowledge Summary (ความรู้ที่ได้รับ)

   วันนี้อาจารย์ให้ทดลองบ้านนักวิทยาศาสตร์ ในเรื่องของแต่ละคนที่ได้ในสัปดาห์ที่แล้วมาทดลอง

👉 ดิฉันทดลองเรื่อง การละลายของนำ้ตาล

โดยนำสีผสมอาหารหยดลงบนก้อนนำ้ตาล และนำนำ้ตาลทั้งสอนก้อนใส่ในนำ้ สังเกตการเปลี่ยนแปลง
การละลายของนำ้ตาลเกิดจากในก้อนนำ้ตาลมีอากาศ อากาศถูกแทนที่ด้วยนำ้ 
เมื่อนำ้ตาลดูดนำ้เข้ามาจนเต็มนำ้ตาลก็ละลายไปในที่สุด

👉 นางสาวขนิษฐา   สมานมิตร ทดลองเรื่องเอดิเคเตอร์จากพืช

นำนำ้มะนาวมาหยดใส่นำ้กะหลำ่ปลีสีม่วง สังเกตการเปลี่ยนแปลง นำ้กะหลำ่ปลีเปลี่ยนเป็นสีแดง
และสองนำ้โซดามาใส่ในนำ้กะหลำ่ปลีเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้ม และสามนำนำ้เปล่ามาใส่ใน
นำ้กะหลำ่ปลีไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง ในนำ้มะนาวมีกรดจึงเกิดการเปลี่ยนแปลง นำ้โซดามีก๊าซ นำเปล่าไม่มีอะไรเจือปนเป็นสิ่งบริสุทธิ นำ้กะหลำ่ปลีคือนำ้จากธรรมชาติเป็นเอดิเคเตอร์

👉 นางสาววิภาพร   จิตอาคะ ทดลองเรื่องจรวดกล่องฟิล์ม

นำเบกกิงโซดา นำ้มะนาวมาใส่ในกล่องฟิล์ม ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขยายตัวในที่แคบ
จึงเกิดแรงดันฝาของกล่องฟิล์มพุ่งขึ้น

👉 นางสาวกิ่งแก้ว   ทนนำ ทดลองเรื่องแสง และภาพ

 
โดยวาดรูปลงแผ่นใส ก็ยังคงเห็นรูปภาพเมื่อนำ้กระดาษสีดำมาประกบกับแผ่นใส่ทำให้ไม่เห็นภาพ 
โดยนำกระดาษสีขาวมาตัดเป็นวงกลมมาเป็นไฟฉาย มาฉายภาพที่เราประกบระหว่างแผ่นฟิล์มกับกระดาษสีดำทำให้เห็นภาพที่เราวาดบนแผ่นฟิล์มนั้น

👉 นางสาวอภิชญา   โมคมูล ทดลองเรื่องแสงเงา

โดยนำกล่องมาจำลองเป็นที่มืด และนำลูกปิงปองมาวางไว้ในกล่องและนำไฟฉาย
มาส่อง ถ้าส่องระยะไกลเงาลูกปิงปองจะมีขนาดเล็กแต่ถ้าส่องระยะที่ใกล้ลูกปิงปองจะมีขนาดที่ใหญ่

👉 นางสาววิจิตรา   ปาคำ ทดลองเรื่องความลับของสีดำ

โดยนำปากกาเคมีสีดำที่กันนำ้ และไม่กันนำ้มาทดลอง โดยวาดภาพลงบนแผ่นกรอง
และหยดนำ้ลงไป ปากกาที่ไม่กันนำ้หลังจากหยดนำ้สังเกตเห็นสีหลายสีกระจายออกสีดำเกิดจาการ
ผสมของหลายสีรวมกัน ปากกาที่กันนำ้หยดนำ้แล้วไม่เกิดการกระจายของสีเพราะมีสารกันนำ้

Teaching Methodes (วิธีการสอน)
   - อาจารย์สอนให้เรารู้จักใช้คำพูดในการจะไปสอนเด็กยังไงให้เด็กเข้าใจง่ายขึ้นในวิทยาศาสตร์และหลักการสอน

Apply (นำไปประยุกต์ใช้)
   - สามารถนำไปใช้ในการให้เด็กทดลองวิทยาศาสตร์ และยังนำไปใช้ต่อยอดในรายวิชาอื่นได้

Assessment (การประเมิน)
   - Self : เข้าเรียนไม่สาย ตั้งใจฟังอาจารย์
   - Friend : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดี
   - Teacher : สอนเข้าใจง่าย อธิยายได้เข้าใจ สนุก

วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Diary No.7 Friday, 21 September 2018 Time 08.30 - 12.30 AM.

Knowledge Summary (ความรู้ที่ได้รับ)
   วันนี้อาจารย์ได้แจกใบการทดลองของบ้านนักวิทยาศาสตร์ให้คนละเรื่อง ให้หาข้อความรู้ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ดิฉันได้เรื่องการละลายของนำ้ตาล และประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์จากแกนทิชชู

เรื่องการละลายของนำ้ตาล💢

ข้อความรู้💭
   ในผลึกนำ้ตาลมีอากาศอยู่ เมื่อนำนำ้ตาลใส่ไปในนำ้ทำให้อากาศถูกแทนที่ด้วยนำ้ ซึ่งสามารถมองเห้นเป็นฟองอากาศลอยขึ้นมาบนผิวนำ้ เมื่อนำ้ตาลดูดนำ้เข้ามาจนเต็มทำให้ผลึกนำ้ตาลแยกจากกันและละลายไปในที่สุด

ประเด็นที่เราอยากรู้ : นำ้ตาลละลายในนำ้ได้อย่างไร

สมมุติฐาน : เมื่อนำนำ้ตาลที่ย้อมสีไปใส่ในจานนำ้จะเกิดอะไรขึ้น

อุปกรณ์💭
   1.นำ้เปล่า
   2.สีผสมอาหาร
   3.นำ้ตาลก้อน
   4.ที่หยดสี

ขั้นการทดลอง💭
   1.นำนำ้ตาลก้อนมาย้อมสีต่างกัน
   2.แล้วนำนำ้ตาลทั้งสองก้อนใส่ลงไปในนำ้พร้อมกัน
   3.หลังจากนั้นสังเกตการเปปลี่ยนแปลง

สรุปผลการทดลอง💭
   หลังจากนำนำ้ตาลที่ย้อมสีใส่ลงไปนำ้ จะเห็นก้อนนำ้ตาลที่ละลายและสีแพร่กระจายออกไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้น น้อยและจนมีความเข้มข้นเท่ากันทั้งจาก 
   จากที่นำตาลละลายในนำ้ได้เนื่องจากในก้อนนำ้ตาลมีอากาศเมื่อนำ้ตาลดูดนำ้เข้ามาจนเต็มทำให้ก้อนนำ้ตาลแยกและละลาย

กิจกรรมที่สอง ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์จากแกนทิชชู





เรื่องแรงลม เมื่อเป่าหลอดแล้วถุงจะพองขึ้น
Teaching Methodes (วิธีการสอน)
   - ทำให้รู้จักนำสิ่งของเหลือใช้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำสื่อเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กได้ เข้าใจง่ายและสามารถนำไปใช้ได้จริง

Apply (การประยุกต์ใช้)
   - สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประดิษฐ์สื่อที่ไม่จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมาก และนำมาต่อยอดในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กได้

Assessment (การประเมิน)
   - self : เข้าเรียนไม่สาย ตั้งใจฟังอาจารย์
   - Friend : เข้าเรียนไม่สาย ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
   - Teacher : สอนสนุกไม่เครียด เข้าใจง่าย 


วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561

Diary No.6 Friday, September 2018 Time 08.30-12.30 AM.

Knowledge Summary (สรุปความรู้ที่ได้รับ)

   วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ของแต่ละคนว่าได้หรือไม่ได้ และให้ไปสรุปวิจัย บทความ ตัวอย่างการสอน ใส่ลงบล็อก ในการสรุปวิจัยจะต้องดูตัวแปรต้น ตัวแปรตาม วัตถุประสงค์ กรอบวิจัย ประโยชน์ที่ได้รับ

ทักษะกระบวนกาารทางวิทยาศาสตร์
   - ประเด็นที่เราอยากรู้
   - ตั้งสมมุติฐาน คาดการณ์
   - ทดลอง
   - สรุปผล

Teaching Methodes (วิธีการสอน)
   - อาจารย์แนะนำเกี่ยวกับการอ่านวิจัยยังไงให้เราเข้าใจอ่านตรงส่วนไหนถึงจะได้ใจความสำคัญของตัววิจัย

Apply (การนำไปประยุกต์ใช้)
   - ในการหาวิจัยอื่นๆเราสามารถนำคำแนะนำของอาจารย์ไปใช้ในการสรุปวิจัยได้อย่างเข้าใจ

Assessment (การประเมิน)
   - Self : เข้าเรียนไม่สาย ตั้งใจฟังอาจารย์
   - Friend : ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือดี
   - Teacher : สอนสนุกเข้าใจง่าย
 

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561

Diary No.5 Friday, 7 September 2018 Time 08.30-12.30 AM.

Knowledge Summary (สรุปความรู้ที่ได้รับ)
   วันนี้อาจารย์ติดงานราชการ จึงไม่สามารถมาสอนได้ แต่อาจารย์ได้มอบหมายงานไว้โดยให้แต่ละกลุ่มปรึกษากันเกี่ยวกับงานที่จะไปจัดฐานกิจกรรมที่พิพิธภัณฑ์ศูนย์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

Assessment (การประเมิน)
   Self : เข้าเรียนไม่สาย
   Friend : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
   Teacher : ให้คำแนะนำในการทำงาน หากไม่เข้าใจ

วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2561

Diary No.4 Friday, 31 August 2018 Time 08.30-12.30 AM.

Knowledge Summary (สรุปความรู้)

   การจัดประสบการณ์
       - รู้พัฒนาการ ให้เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
       - พัฒนาการ หมายถึง ความสามารถของเด็กในแต่ละระดับอายุ
       - สอนให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก การเล่น 

   วิทยาศาสตร์   สิ่งต่างๆรอบตัว สิ่งมีชีวิต ไม่มีชีวิต เคมี
   วิทยาศาสตร์   ทำให้เกิดการคิดสิ่งใหม่ การพัฒนา
   วิทยาศาสตร์    ทำให้เราสบายขึ้น ทันสมัย การดำรงชีวิต เครื่องมือทำนายอนาคต แก้ปัญหา

   เด็กปฐมวัย
        - อยากรู้อยากเห็น
        - แสวงหาความรู้ แก้ปัญหาได้ตนเอง
        - วัยที่พัฒนาสมองมากที่สุด แรกเกิด - 6 ปี

   ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
        1.ความหมายทักษะสังเกต ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
        2. จำแนกประเภท หาเกณฑ์ ความต่าง ความสัมพันธ์ร่วม
        3. ความหมายทักษะการวัด ใช้เครื่องมือ
        4. ทักษะการสื่อความหมาย การพูด การเขียน วาดภาพ กราฟ
        5. ลงความเห็นของข้อมูล การแสดงความคิดเห็นให้ข้อมูลเพิ่มเติม เช่น ต้นไม้เจริญเติบโตเพราะได้แสงที่ดี
        6. การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา   รูปสามมิติ สองมิติ บอกความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุ บอกตำแหน่ง ทิศทาง
        7. การคำนวณ บวก ลบ คูณ หาร

   ทำไมจะต้องสอนวิทยาศาสตร์ 
        - ความจำเป็นที่จะต้องไปใช้ชีวิต
        - หลักสูตรปฐมวัย 2560

   องค์ประกอบของวิทยาศาสตร์
                   ↓
          สิ่งที่กำหนดให้
                   ↓
        หลักการ เกณฑ์
                 
 ค้นหาความจริง รวบรวมข้อมูล   

Teaching Methodes (วิธีการสอน)
   - อาจารย์สอนและยกตัวอย่างในแต่ละหัวข้อให้เข้าใจง่าย

Apply (นำไปประยุกต์ใช้) 
   - สามารถนำความรู้ไปใช้ในการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้ถูกต้องอย่างเข้าใจเด็ก
  
Assessment (การประเมิน)
   - Self : เข้าเรียนไม่สาย ตั้งใจฟังอาจารย์
   - Friend : ให้ความร่วมมือ
   - Teacher : สอนอนุก เข้าใจง่าย

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2561

Diary No. 3 Friday, 24 August 2018 Time 08.30 - 12.30 AM.

Knowledge Summary (สรุปความรู้)
   วันนี้อาจารย์ให้คิดฐานกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ที่จะไปจัดกิจกรรมกันที่ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ จ.ปทุมธานี โดยกลุ่มของดิฉันทำฐาน เสียงเกิดจากอะไรนะ โดยอาจารย์ให้ใช้สิ่งประดิษฐ์ที่มีอยู่แล้วในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์มาต่อยอดในการทำกิจกรรม ในเรื่องเสียงของกลุ่มดิฉัน ก็จะมีจากระซิบ ท่อนำเสียง และสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่ใช้ในการจัดกิจกรรม 

Objective (วัตถุประสงค์)
   1.เพื่อได้เรียนรู้ที่มาของเสียง
   2.เพื่อให้แยกเสียง รู้ความแตกต่างของเสียง
   3.เพื่อรู้จักการใช้เทคโนโลยี
   4.เพื่อได้ใช้ภาษาเพื่อแสดงบทบาทสมมุติ

Step in the Activity (ขั้นตอนในการทำกิจกรรม)
   1.แบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม และให้ไปทดลองเล่นเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์เสียง
   2.โดยมีวิธีนำเสนอเป็นการถ่ายคลิปวิดีโอในการทดลองเล่น
   3.ใช้ภาษาในการสื่อสาร หรือแสดงบทบาทสมมุติเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ไปทดลองว่าเสียงเกิดจากอะไร และทำไมเสียงถึงมีความแตกต่างกัน
   4.พูดสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ไปทดลองมา โดยแสดงความคิดเห็นร่วมกัน


Teaching Methodes (วิธีการสอน)
   - ทำให้รู้จักคิดต่อยอดในสิ่งที่มีอยู่แล้ว ทำให้เราได้คิดกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์ สนุก ที่ไม่น่าเบื่อเหมาะกับเด็ก

Apply (นำไปประยุกต์ใช้)
   - นำไปจัดกิจกรรมให้เด็กได้ และนำไปต่อยอดในวิชาอื่น

Assessment (การประเมิน)
   - Self : เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือกับเพื่อนในการทำงานกลุ่ม
   - Friend : ให้ความร่วมมือ
   - Teacher : สอนให้รู้จักคิดต่อยอด สอนสนุก เข้าใจง่าย

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2561


Diary No.2 Friday, 17 August 2018  Time 08.30 - 12.30 AM.

Knowledge Summary

        ถ้านึกถึงศูนย์วิทยาศาสตร์นึกถึงอะไรบ้าง บ้างคนก็บอกท้องฟ้าจำลอง เขาดิน พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ หลังจากนั้นอาจารย์ให้ทำ Mind map ในเรื่องศูนย์วิทยาศาสตร์ว่ามีอะไรบ้าง กลุ่มของดิฉันแยกออกมาได้ดังนี้ จากนั้นอาจารย์ก็อธิบายถึงข้อที่ควรแก้ไขและเพิ่มเติม หลังจากนั้นก็แจกกระดาษให้แต่ละคนให้คะแนนของเพื่อนในแต่ละกลุ่มพร้อมเหตุผล

กลุ่มของดิฉัน



👉จากนั้นอาจารย์ถามว่านึกถึงอะไรบ้างเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ดิฉันตอบว่า บ้านที่ทำจากดิน ช่วยให้ความเย็น เพื่อนก็บอกว่า แร่ หิน พลังงาน 
👉 ต่อมาเล่นเกมโดย ให้หาคำคล้องจองโดยขึ้นต้นด้วยภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ตย.เช่น เครื่องกล Machine Invention สิ่งประดิษฐ์

Teaching methods
อาจารย์สอนและอธิบายได้เข้าใจ มีเกมสนุกๆให้เล่นและเปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสงความคิดเห็น

Apply
สามารถนำการทำ mind map ไปสอนเด็กในหน่วยต่างๆได้และนำคำคล้องจองไปร้องเป็นเพลงในการสอนได้

Assessment 

Self : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
Friend : ให้ความร่วมมือ ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
Teacher : อธิบายได้เข้าใจในสิ่งที่เราต้องแก้ไข สอนสนุก


Diary No.1 Friday, 10 August 2018  Time 08.30 - 12.30 AM.

Knowledge summary
    วันนี้เป็นคาบเรียนแรก อาจารย์ได้บอกแนวการสอน เกณฑ์การให้คะแนน และหลักการประเมินต่างๆ รวมถึงข้อตกลงภายในห้องเรียน การมาให้ตรงต่อเวลา การแต่งกายให้เรียบร้อย หลังจากนั้นอาจารย์มอบหมายงานให้ทุกคนสร้าง blog ในเนื้อหาบางส่วนให้มีภาษาอังกฤษสอดแทรกด้วย


Teaching methods💢
เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ถามตอบแสดงความคิดเห็น

Apply💢

สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างบล็อคอย่างอื่นได้ถูกหลัก และทำให้เราได้คำศัพท์ได้มากขึ้นด้วย


Assessment 💢
Self : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
Friend : ให้ความร่วมมือ ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
Teacher : อธิบายได้เข้าใจ เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น