วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Diary No.10 Friday, 19 October 2018 Time 08.30 - 12.30 AM.

Knowledge Summary (ความรู้ที่ได้รับ)
   วันนี้อาจารย์ให้จับกลุ่ม และเลือกการทดลองที่น่าสนใจภายในกลุ่มมา 1 การทดลอง และให้ทำโครงการ นำฐานกิจกรรมของแต่ละกลุ่มมารวมกัน ฐานกิจกรรมวิทยาศาสตร์นี้จะนำไปจัดให้กับเด็กๆ

กลุ่มของดิฉันทำเกี่ยวกับเรื่องนำ้

"ชื่อฐานนำ้นิ่งไหลลึก"

วัตถุประสงค์💥
   1.อธิบายคุณสมบัติของนำ้ได้
   2.เด็กบอกได้ว่านำ้เป็นส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิต
   3.เด็กได้ลงมือทดลองร่วมกับครู
   4.เด็กได้รับความสนุกสนานจากการทดลอง
   5.เด็กมีการสังเกตและคิดในสิ่งที่พบเห็น
   6.เด็กได้ความรู้และสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
   7.เด็กได้คิดวิเคราะห์ในการทำการทดลอง
ข้อความรู้💥
   นำ้เป็นของเหลวชนิดหนึ่งที่มีอยู่มากที่สุดบนผิวโลกเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตทุกชนิดทุกชนิดที่มนุษย์รู้จัก เราสามารถพบนำ้ได้หลายสถานที่ เช่น ทะเล แม่นำ้ หนอง คลอง บึง
ประเด็นที่อยากรู้
   นำ้มีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง?
สมมุติฐาน💥
   - ถ้าเทใส่นำ้ในแก้วจะเกิดอะไรขึ้น
   - ถ้าใส่นำ้ในภาชนะต่างกันจะเกิดอะไรขึ้น
   - ถ้าวางวัตถุบนผิวนำ้จะเกิดอะไรขึ้น
   - ถ้านำผักผลไม้มาบีบจะเกิดอะไรขึ้น
สื่อ อุปกรณ์💥
   1.นำ้
   2.แก้วรูปทรงต่างๆ
   3.สีผสมอาหาร
   4.คลิปหนีบกระดาษ
   5.นำ้ยาล้างจาน
   6.ผลไม้และผัก
ขั้นตอน💥
   1.เทนำ้จากแก้วใบแรกใส่แก้วใบที่สองสลับไปมา
   2.เทนำ้ใส่ภาชนะที่มีรูปร่างต่างกัน นำ้จะเปลี่ยนรูปร่างตามภาชนะ
   3.เทนำ้ให้เต็มแก้วแล้วนำคลิปหนีบกระดาษมาวางบนผิวนำ้
   4.หยดนำ้ยาล้างจานบนผิวนำ้ แล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลง
   5.หลังจากนั้นนำผักผลไม้มาบีบ สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง
สรุปผลการทดลอง💥
   - เทนำ้สลับไปมา ที่นำ้ไหลเป็นเพราะว่านำ้มีคุณสมบัติเป็นของเหลว
   - นำ้เปลี่ยนรูปร่างเพราะภาชนะ
   - วางวัตถุลงบนผิวนำ้แล้วไม่จบเพราะมีแรงตึงผิว 
   - เมื่อบีบผักผลไม้มีนำ้ออกมาเพราะนำ้เป็นส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิต

Teaching Methodes (วิธีการสอน)
   - ให้เราได้คิดการจัดฐานกิจกรรมทำให้ได้รู้ถึงการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก และผิดถูกอาจารย์จะคอยช่วยเสริมให้สมบูรณ์

Apply (นำไปประยุกต์ใช้)
   - สามารถนำองค์ความรู้ที่เราได้จากจัดฐานกิจกรรมนี้ไปสอนเด็กได้

Assessment (การประเมิน)
   - Self : เข้าเรียนไม่สาย ตั้งใจฟังอาจารย์ ให้ความร่วมมือกับเพื่อน
   - Friend : ให้ความร่วมมือดี
   - Teacher : แนะนำแนวทางให้เข้าใจถูกต้อง สอนสนุก ใส่ใจนักศึกษา

วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Diary No.9 Friday, 12 October 2018 Time 08.30 - 12.30 AM.

Knowledge Summary (ความรู้ที่ได้รับ)
   วันนี้เพื่อนๆนำเสนอการทดลองบ้านนักวิทยาศาสตร์

👉 นางสาวอรอุมา   ศรีท้วม ทดลองเรื่องปริมาณนำ้ในแก้วเท่ากันหรือไม่
นำนำ้ใส่แก้วในแต่ละแก้วที่มีรูปร่างต่างกัน แต่ใส่นำ้ในปริมาณที่เท่ากัน ให้เด็กสังเกต ถ้าเด็ก
ตอบว่านำ้มีปริมาณที่เท่ากันแสดงว่าเด็กผ่านขั้นอนุรักษ์แล้ว ถ้าเด็กตอบว่านำ้มีปริมาณที่ต่างกัน
แสดงว่าเด็กยังไม่ผ่านขั้นอนุรักษ์เด็กจะตอบตามในสิ่งที่ตาเห็น

👉 นางสาวณัฐธิดา   ธรรมแท้ ทดลองเรื่องนำ้มะนาวโซดาแสนอร่อย
นำกรดมะนาวมาละลายในนำ้ และนำเบกกิ้งโซดามาละลายในนำ้ นำนำ้มะนาวและเบกกิ้งโซดา
ที่ละลายมาผสมกันจะเกิดฟองฟู่ คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และใส่นำ้แดงลงไปทำให้ได้นำ้มะนาวโซดา

👉 นางสาวปวีณา   พันธ์กุล ทดลองเรื่องการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
โดยใส่นำ้มะนาว3ช้อน ลงไปในเกลือไม่เกิดอะไรขึ้น ใส่นำ้มะนาวลงไปในผงฟูเกิดฟองขึ้น
ใส่นำ้มะนาวลงไปในเบกกิ้งโซดา เกิดฟองขึ้น ใส่นำ้มะนาวลงไปในนำ้ตาลไม่เกิดอะไรขึ้น
การเกิดฟองขึ้นทำใหเเกิดคาร์บอนไดออกไซด์ และที่เกลือกับนำ้ตาลไม่เกิดอะไรเพราะนำ้มะนาว
แทรกตัวอยู่ในนำ้ตาลและเกลือ 

Teaching Methodes (วิธีการสอน)
   - อาจารย์สอนได้เข้าใจ แนะนำวิธีการสอนและการจัดประสบการณ์ที่สามารถนำไปใช้สอนเด็กได้จริง

Apply (นำไปประยุกต์ใช้)
   - สามารถนำวิธีการสอนไปปรับใช้ในการสอนได้

Assessment (การประเมิน)
   - Self : เข้าเรียนไม่สาย
   - Friend : ให้ความร่วมมือ
   - Teacher : สอนได้เข้าใจสนุก




วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Diary No.8 Friday, 5 October 2018 Time 08.30 - 12.30 AM.

knowledge Summary (ความรู้ที่ได้รับ)

   วันนี้อาจารย์ให้ทดลองบ้านนักวิทยาศาสตร์ ในเรื่องของแต่ละคนที่ได้ในสัปดาห์ที่แล้วมาทดลอง

👉 ดิฉันทดลองเรื่อง การละลายของนำ้ตาล

โดยนำสีผสมอาหารหยดลงบนก้อนนำ้ตาล และนำนำ้ตาลทั้งสอนก้อนใส่ในนำ้ สังเกตการเปลี่ยนแปลง
การละลายของนำ้ตาลเกิดจากในก้อนนำ้ตาลมีอากาศ อากาศถูกแทนที่ด้วยนำ้ 
เมื่อนำ้ตาลดูดนำ้เข้ามาจนเต็มนำ้ตาลก็ละลายไปในที่สุด

👉 นางสาวขนิษฐา   สมานมิตร ทดลองเรื่องเอดิเคเตอร์จากพืช

นำนำ้มะนาวมาหยดใส่นำ้กะหลำ่ปลีสีม่วง สังเกตการเปลี่ยนแปลง นำ้กะหลำ่ปลีเปลี่ยนเป็นสีแดง
และสองนำ้โซดามาใส่ในนำ้กะหลำ่ปลีเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้ม และสามนำนำ้เปล่ามาใส่ใน
นำ้กะหลำ่ปลีไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง ในนำ้มะนาวมีกรดจึงเกิดการเปลี่ยนแปลง นำ้โซดามีก๊าซ นำเปล่าไม่มีอะไรเจือปนเป็นสิ่งบริสุทธิ นำ้กะหลำ่ปลีคือนำ้จากธรรมชาติเป็นเอดิเคเตอร์

👉 นางสาววิภาพร   จิตอาคะ ทดลองเรื่องจรวดกล่องฟิล์ม

นำเบกกิงโซดา นำ้มะนาวมาใส่ในกล่องฟิล์ม ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขยายตัวในที่แคบ
จึงเกิดแรงดันฝาของกล่องฟิล์มพุ่งขึ้น

👉 นางสาวกิ่งแก้ว   ทนนำ ทดลองเรื่องแสง และภาพ

 
โดยวาดรูปลงแผ่นใส ก็ยังคงเห็นรูปภาพเมื่อนำ้กระดาษสีดำมาประกบกับแผ่นใส่ทำให้ไม่เห็นภาพ 
โดยนำกระดาษสีขาวมาตัดเป็นวงกลมมาเป็นไฟฉาย มาฉายภาพที่เราประกบระหว่างแผ่นฟิล์มกับกระดาษสีดำทำให้เห็นภาพที่เราวาดบนแผ่นฟิล์มนั้น

👉 นางสาวอภิชญา   โมคมูล ทดลองเรื่องแสงเงา

โดยนำกล่องมาจำลองเป็นที่มืด และนำลูกปิงปองมาวางไว้ในกล่องและนำไฟฉาย
มาส่อง ถ้าส่องระยะไกลเงาลูกปิงปองจะมีขนาดเล็กแต่ถ้าส่องระยะที่ใกล้ลูกปิงปองจะมีขนาดที่ใหญ่

👉 นางสาววิจิตรา   ปาคำ ทดลองเรื่องความลับของสีดำ

โดยนำปากกาเคมีสีดำที่กันนำ้ และไม่กันนำ้มาทดลอง โดยวาดภาพลงบนแผ่นกรอง
และหยดนำ้ลงไป ปากกาที่ไม่กันนำ้หลังจากหยดนำ้สังเกตเห็นสีหลายสีกระจายออกสีดำเกิดจาการ
ผสมของหลายสีรวมกัน ปากกาที่กันนำ้หยดนำ้แล้วไม่เกิดการกระจายของสีเพราะมีสารกันนำ้

Teaching Methodes (วิธีการสอน)
   - อาจารย์สอนให้เรารู้จักใช้คำพูดในการจะไปสอนเด็กยังไงให้เด็กเข้าใจง่ายขึ้นในวิทยาศาสตร์และหลักการสอน

Apply (นำไปประยุกต์ใช้)
   - สามารถนำไปใช้ในการให้เด็กทดลองวิทยาศาสตร์ และยังนำไปใช้ต่อยอดในรายวิชาอื่นได้

Assessment (การประเมิน)
   - Self : เข้าเรียนไม่สาย ตั้งใจฟังอาจารย์
   - Friend : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดี
   - Teacher : สอนเข้าใจง่าย อธิยายได้เข้าใจ สนุก

วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Diary No.7 Friday, 21 September 2018 Time 08.30 - 12.30 AM.

Knowledge Summary (ความรู้ที่ได้รับ)
   วันนี้อาจารย์ได้แจกใบการทดลองของบ้านนักวิทยาศาสตร์ให้คนละเรื่อง ให้หาข้อความรู้ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ดิฉันได้เรื่องการละลายของนำ้ตาล และประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์จากแกนทิชชู

เรื่องการละลายของนำ้ตาล💢

ข้อความรู้💭
   ในผลึกนำ้ตาลมีอากาศอยู่ เมื่อนำนำ้ตาลใส่ไปในนำ้ทำให้อากาศถูกแทนที่ด้วยนำ้ ซึ่งสามารถมองเห้นเป็นฟองอากาศลอยขึ้นมาบนผิวนำ้ เมื่อนำ้ตาลดูดนำ้เข้ามาจนเต็มทำให้ผลึกนำ้ตาลแยกจากกันและละลายไปในที่สุด

ประเด็นที่เราอยากรู้ : นำ้ตาลละลายในนำ้ได้อย่างไร

สมมุติฐาน : เมื่อนำนำ้ตาลที่ย้อมสีไปใส่ในจานนำ้จะเกิดอะไรขึ้น

อุปกรณ์💭
   1.นำ้เปล่า
   2.สีผสมอาหาร
   3.นำ้ตาลก้อน
   4.ที่หยดสี

ขั้นการทดลอง💭
   1.นำนำ้ตาลก้อนมาย้อมสีต่างกัน
   2.แล้วนำนำ้ตาลทั้งสองก้อนใส่ลงไปในนำ้พร้อมกัน
   3.หลังจากนั้นสังเกตการเปปลี่ยนแปลง

สรุปผลการทดลอง💭
   หลังจากนำนำ้ตาลที่ย้อมสีใส่ลงไปนำ้ จะเห็นก้อนนำ้ตาลที่ละลายและสีแพร่กระจายออกไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้น น้อยและจนมีความเข้มข้นเท่ากันทั้งจาก 
   จากที่นำตาลละลายในนำ้ได้เนื่องจากในก้อนนำ้ตาลมีอากาศเมื่อนำ้ตาลดูดนำ้เข้ามาจนเต็มทำให้ก้อนนำ้ตาลแยกและละลาย

กิจกรรมที่สอง ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์จากแกนทิชชู





เรื่องแรงลม เมื่อเป่าหลอดแล้วถุงจะพองขึ้น
Teaching Methodes (วิธีการสอน)
   - ทำให้รู้จักนำสิ่งของเหลือใช้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำสื่อเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กได้ เข้าใจง่ายและสามารถนำไปใช้ได้จริง

Apply (การประยุกต์ใช้)
   - สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประดิษฐ์สื่อที่ไม่จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมาก และนำมาต่อยอดในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กได้

Assessment (การประเมิน)
   - self : เข้าเรียนไม่สาย ตั้งใจฟังอาจารย์
   - Friend : เข้าเรียนไม่สาย ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
   - Teacher : สอนสนุกไม่เครียด เข้าใจง่าย